ข้อมูลพื้นฐานจังหวัดหนองคาย

     หนองคาย เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ตั้งอยู่ในแอ่งสกลนครและอยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 เป็นจังหวัดชายแดนซึ่งมีพื้นที่ส่วนใหญ่ติดฝั่งแม่น้ำโขง ตรงข้ามกับประเทศลาว มีพื้นที่แคบแต่ยาว และมีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการชมบั้งไฟพญานาคในวันออกพรรษา

ประวัติศาสตร์

       เมืองหนองคายมีชื่อปรากฏอยู่ในพงศาวดารล้านช้างตลอดยุคสมัย ดังเช่นปรากฏเป็นชื่อเมืองเวียงคุก เมืองปะโค เมืองปากห้วยหลวง (อำเภอโพนพิสัยในปัจจุบัน) และนอกจากนี้ยังปรากฏในศิลาจารึกจำนวนมากที่กษัตริย์แห่งเวียงจันทน์ได้สร้างไว้ในบริเวณจังหวัดหนองคาย โดยเฉพาะเมืองปากห้วยหลวงเป็นเมืองลูกหลวง นอกจากนี้ในรัชสมัยพระเจ้าวรรัตนธรรมประโชติฯ พระราชโอรสในพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ได้ตั้งสมเด็จพระสังฆราชวัดมุจลินทรอารามอยู่ที่เมืองห้วยหลวง และยังพบจารึกที่วัดจอมมณี ลงศักราช พ.ศ. 2098 จารึกวัดศรีเมือง พ.ศ. 2109 จารึกวัดศรีบุญเรือง พ.ศ. 2151 เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบโบราณสถานอิทธิพลล้านช้างจำนวนมาก เช่น พระธาตุต่าง ๆ โดยเฉพาะพระธาตุบังพวน สร้างก่อน พ.ศ. 2106 จารึกวัดถ้ำสุวรรณคูหา (อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู) ลงศักราช พ.ศ. 2106 กล่าวถึงพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ได้อุทิศข้าทาสและที่ดินแก่วัดถ้ำสุวรรณคูหา และได้สร้างพระพุทธรูปไว้ที่พระธาตุบังพวนอีกด้วย
      เมื่อ พ.ศ. 2322 กองทัพสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ชัยชนะกรุงศรีสัตนาคนหุตเวียงจันทน์แล้ว หัวเมืองหนองคายยังอยู่ใต้ความควบคุมของเวียงจันทน์เช่นเดิมหลังกรณีเจ้าอนุวงศ์ พ.ศ. 2369 – 2370 ฝ่ายกรุงเทพฯ มีนโยบายอพยพผู้คนมาฝั่งภาคอีสานจึงยุบเมืองเวียงจันทน์ปล่อยให้เป็นเมืองร้าง ชาวเมืองเวียงจันทน์บางส่วนก็อพยพมาภาคกลางและบางส่วนก็อยู่ที่บริเวณเมืองเวียงคุก เมืองปะโค (อำเภอเมืองหนองคายในปัจจุบัน) เมื่อจัดการบ้านเมืองเรียบร้อยแล้ว เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) อัครมหาเสนาบดีสมุหนายก จึงกราบบังคมทูลพระกรุณาให้ท้าวสุวอ (บุญมา) เป็นเจ้าเมือง ยกบ้านไผ่ (ละแวกเดียวกับเมืองปะโคเมืองเวียงคุก) เป็นเมืองหนองคาย ท้าวสุวอเป็น “พระปทุมเทวาภิบาล ต้นตระกูล ณ หนองคาย” เจ้าเมืองคนแรก มีเจ้าเมืองต่อมาอีก 2 คน คือ พระปทุมเทวาภิบาล (เคน ณ หนองคาย) ผู้เป็นบุตรและพระยาปทุมเทวาภิบาล (เสือ ณ หนองคาย) ผู้เป็นหลาน
      เมื่อ พ.ศ. 2428 เกิดสงครามปราบฮ่อครั้งที่สองในบริเวณทุ่งไหหิน (ทุ่งเชียงคำ) พวกฮ่อกำเริบตีมาจนถึงเวียงจันทน์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบข่าวศึกฮ่อ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมขณะดำรงพระอิสริยศเป็น กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม เป็นแม่ทัพปราบฮ่อครั้งนั้นจนพวกฮ่อแตกหนี และสร้างอนุสาวรีย์ปราบฮ่อไว้ที่เมืองหนองคาย เมื่อ พ.ศ. 2429 ต่อมาใน พ.ศ. 2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมดำรงตำแหน่งข้าหลวงมณฑลลาวพวน (ภายหลังเปลี่ยนเป็นมณฑลอุดร) ได้ตั้งที่ทำการที่เมืองหนองคาย ครั้นเกิดวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 ไทยถูกกำหนดเขตปลอดทหารภายในรัศมี 50 กิโลเมตรจากชายแดน จึงย้ายกองบัญชาการมลฑลลาวพวนมาตั้งที่ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
      ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติปกครองพื้นที่ขึ้นโดยให้ยกเลิกระบอบเจ้าปกครองทั่วประเทศ ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ 2458 กระทรวงมหาดไทยจึงได้มีคำสั่งสถาปนาเมืองข้าหลวงปกครอง ซึ่งต่อมาเรียกว่าผู้ว่าราชการจังหวัด และในปี พ.ศ. 2476 ได้มีการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นจังหวัดและอำเภอ หนองคายจึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัด
      ในปี พ.ศ. 2554 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้มีพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554[4] มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2554 โดยให้แยกอำเภอบึงกาฬ อำเภอปากคาด อำเภอโซ่พิสัย อำเภอพรเจริญ อำเภอเซกา อำเภอบึงโขงหลง อำเภอศรีวิไล และอำเภอบุ่งคล้า ออกจากจังหวัดหนองคาย ไปตั้งเป็นจังหวัดบึงกาฬ

ภูมิศาสตร์

ที่ตั้งและอาณาเขต

       จังหวัดหนองคาย มีเนื้อที่ประมาณ 3,026.534 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1,891,583 ไร่ (นับเป็นจังหวัดที่มีขนาดเล็กที่สุดของภาคอีสาน โดยพื้นที่ทั้งหมดก่อนที่จังหวัดบึงกาฬจะแยกตัวไป มีประมาณ 7,332 ตารางกิโลเมตร[5]) ลักษณะเป็นรูปยาวเรียงทอดไปตามลำน้ำโขง ซึ่งเป็นเส้นกั้นเขตแดนกับประเทศลาว มีความยาวทั้งสิ้น 195 กิโลเมตร ความกว้างของพื้นที่ที่ทอดขนานไปตาม ลำน้ำโขงโดยเฉลี่ย 20 – 25 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานครตามทางหลวงแผ่นดินสาย 2 (มิตรภาพ) ประมาณ 615 กิโลเมตร และมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงดังนี้

ภูมิประเทศและภูมิอากาศ

       สภาพภูมิประเทศของจังหวัดหนองคายมีลักษณะทอดยาวตามลำน้ำโขง จังหวัดหนองคายเป็นจังหวัดชายแดนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มีอาณาเขตติดกับกรุงเวียงจันทน์ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศลาว โดยมีแม่น้ำโขงเป็นเส้นกั้นเขตแดน จังหวัดหนองคายเป็นจังหวัดชายแดนที่มีเอกลักษณ์พิเศษโดยมีพื้นที่ทอดขนานยาวไปตามลำน้ำโขง ความกว้างของพื้นที่ทอดขนานไปตามลำน้ำโขงโดยเฉลี่ยประมาณ 20 – 25 กิโลเมตร ช่วงที่กว้างที่สุดอยู่ที่อำเภอเฝ้าไร่ และช่วงที่แคบที่สุดอยู่ที่อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคายมีอำเภอที่อยู่ติดกับลำน้ำโขง 6 อำเภอ คือ อำเภอสังคม อำเภอท่าบ่อ อำเภอศรีเชียงใหม่ อำเภอเมือง อำเภอโพนพิสัย และอำเภอรัตนวาปี และมีอาณาเขตติดต่อกับ ประเทศลาว คือ แขวงเวียงจันทน์ นครหลวงเวียงจันทน์ และแขวงบอลิคำไซ

จังหวัดหนองคายมีจุดผ่านแดนไป ประเทศลาว รวม 6 จุด เป็นจุดผ่านแดนถาวร 2 จุด และจุดผ่อนปรน 4 จุด จุดผ่านแดนที่สำคัญและเป็นสากล คือ ด่านสะพานมิตรภาพไทย – ลาว ซึ่งรัฐบาลออสเตรเลีย-ไทย-ประเทศลาว ร่วมมือกันสร้างและเป็นประตูไปสู่อินโดจีน

ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง แยกได้เป็น 4 บริเวณ คือ

  • พื้นที่ค่อนข้างราบ ได้แก่ เขตอำเภอเมืองหนองคาย อำเภอท่าบ่อ และอำเภอศรีเชียงใหม่ ซึ่งใช้ประโยชน์ในการทำนา และปลูกพืชบริเวณริมน้ำโขง
  • พื้นที่เป็นคลื่นลอนลาด กระจายอยู่ทุกอำเภอเป็นหย่อมๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นที่ทำนาและปลูกพืชไร่ พืชสวนและป่าธรรมชาติ
  • พื้นที่เป็นคลื่นลอนชันและเป็นเขาเป็นป่าธรรมชาติ เช่น ป่าไม้เต็งรัง เบญจพรรณ พบในเขตอำเภอสังคม
  • สภาพพื้นที่เป็นภูเขาที่มีความสูงชัน จากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 200 เมตร เป็นบริเวณเทือกเขาต่างๆ ทางทิศตะวันตกในเขตอำเภอสังคม

    เนื่องจากแม่น้ำโขงไหลผ่านอำเภอต่างๆ เกือบทุกอำเภอ จึงก่อให้เกิดประโยชน์ในการเกษตรกรรม ราษฎรได้อาศัยแม่น้ำโขงเป็นแหล่งน้ำที่ใช้เพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภค โดยเฉพาะราษฎรที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำโขง จะได้รับประโยชน์มากกว่าราษฎรที่อยู่ลึกเข้าไปจากแม่น้ำโขง นอกจากนี้สำนักงานพลังงานแห่งชาติได้จัดตั้งสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า ในพื้นที่ 9 อำเภอ รวมทั้งสิ้น 82 สถานี เพื่อทำการสูบน้ำจากแม่น้ำโขงและแหล่งน้ำอื่น ๆ ขึ้นมาใช้เพื่อการเกษตรกรรม

    ลักษณะอากาศจัดอยู่ในจำพวกฝนแถบร้อนและแห้งแล้ง (ธ.ค. – ม.ค.) ในฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ อุณหภูมิจะเริ่มลดในเดือนพฤศจิกายนและต่ำสุดในช่วงเดือนธันวาคมถึงมกราคม ในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม เป็นช่วงเปลี่ยนฤดู อุณหภูมิจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในเดือนมีนาคม และร้อนจัดในเดือนเมษายน ในฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ (มิ.ย.- ก.ค.) อุณหภูมิโดยทั่วไปจะลดลง และในเดือนตุลาคมอุณหภูมิจะเริ่มลดลงจนอากาศหนาวเย็น อุณหภูมิต่ำสุดรายปีอยู่ที่ 9.50 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดรายปีอยู่ที่ 40.60 องศาเซลเซียสเฉลี่ยรายปีอยู่ที่ 26.46 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนทั้งปีอยู่ที่ 1,843.6 มิลลิเมตรต่อปี

    ยุบข้อมูลภูมิอากาศของจังหวัดหนองคาย
    เดือนม.ค.ก.พ.มี.ค.เม.ย.พ.ค.มิ.ย.ก.ค.ส.ค.ก.ย.ต.ค.พ.ย.ธ.ค.ทั้งปี
    อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F)29.3
    (84.7)
    31.6
    (88.9)
    34.3
    (93.7)
    35.7
    (96.3)
    33.7
    (92.7)
    32.5
    (90.5)
    32.0
    (89.6)
    31.4
    (88.5)
    31.6
    (88.9)
    31.3
    (88.3)
    30.1
    (86.2)
    28.6
    (83.5)
    31.84
    (89.32)
    อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F)16.2
    (61.2)
    18.6
    (65.5)
    21.4
    (70.5)
    23.8
    (74.8)
    24.3
    (75.7)
    24.7
    (76.5)
    24.5
    (76.1)
    24.3
    (75.7)
    24.0
    (75.2)
    22.7
    (72.9)
    19.4
    (66.9)
    15.9
    (60.6)
    21.65
    (70.97)
    หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว)7.0
    (0.276)
    10.5
    (0.413)
    30.7
    (1.209)
    89.5
    (3.524)
    240.3
    (9.461)
    278.5
    (10.965)
    249.3
    (9.815)
    336.7
    (13.256)
    275.6
    (10.85)
    76.6
    (3.016)
    12.2
    (0.48)
    3.3
    (0.13)
    1,610.2
    (63.394)
    วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย23581719202218921126
    แหล่งที่มา: Thai Meteorological Department

    การเมืองการปกครอง

     

    แผนที่การแบ่งเขตการปกครอง

    การปกครองแบ่งออกเป็น 9 อำเภอ 62 ตำบล 678 หมู่บ้าน มีรายชื่ออำเภอตามหมายเลขในแผนที่ดังนี

    หมายเลขอำเภอประชากร
    (พ.ศ. 2560)
    พื้นที่
    (ตร.กม.)
    ความหนาแน่น
    (คน/ตร.กม.)
    รหัสไปรษณีย์
    1
    อำเภอเมืองหนองคาย
    150,629
    607.5
    244.41
    43000, *43100
    2
    อำเภอท่าบ่อ
    83,072
    355.3
    233.45
    43110
    3
    อำเภอโพนพิสัย
    98,846
    642.7
    152.61
    43120
    4
    อำเภอศรีเชียงใหม่
    30,901
    198.0
    154.98
    43130
    5
    อำเภอสังคม
    25,294
    449.7
    55.09
    43160
    6
    อำเภอสระใคร
    26,784
    210.9
    125.30
    43100
    7
    อำเภอเฝ้าไร่
    52,251
    255.9
    203.01
    43120
    8
    อำเภอรัตนวาปี
    38,768
    204.007
    189.20
    43120
    9
    อำเภอโพธิ์ตาก
    15,341
    102.5
    149.29
    43130
    รวม
    521,886
    3,027.280
    124.5
    *43100 ปณ.หนองสองห้อง

    การปกครองส่วนท้องถิ่น

           มีจำนวนทั้งสิ้น 67 แห่ง แบ่งออกเป็นเทศบาลเมือง 2 แห่ง เทศบาลตำบล 17 แห่ง และ องค์การบริหารส่วนตำบล 48 แห่ง โดยเทศบาลสามารถจำแนกได้ตามพื้นที่ดังนี้

    อำเภอเมืองหนองคาย

    อำเภอท่าบ่อ

    อำเภอโพนพิสัย

    อำเภอศรีเชียงใหม่

    อำเภอสังคม

    อำเภอเฝ้าไร่

    รายนามและรายพระนาม เจ้าเมืองและผู้ว่าราชการ

    ประชากร

    สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร
    จังหวัดหนองคาย[8]
    ปี (พ.ศ.)ประชากร
    2549899,580
    2550902,618
    2551906,877
    2552907,250
    2553912,937
    2554*509,870
    2555512,439
    2556514,943
    2557517,260
    2558519,580
    2559520,363
    2560521,886

    * ปี พ.ศ. 2554 ประชากรจังหวัดหนองคายลดลงเนื่องจากการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ

    กลุ่มชาติพันธุ์

           เนื่องจากจังหวัดหนองคายมีชายแดนติดต่อกับประเทศลาวกว่า 200.82 กิโลเมตร และเป็นเมืองหน้าด่านในการทำสงครามในสมัยก่อน จึงทำให้มีการกวาดต้อนอพยพผู้คนจากทั้งฝั่งประเทศลาวและไทย (ในปัจจุบัน) ข้ามไปมา จึงทำให้มีกลุ่มคนหลายชาติพันธุ์ในจังหวัดหนองคาย แต่อย่างไรก็ตามในบันทึกทางประวัติศาสตร์ ได้บ่งบอกว่ามีกลุ่มคนที่อาศัยเป็นเมืองอยู่ในบริเวณนี้อยู่เดิม ได้แก่ เมืองพานพร้าว (อำเภอศรีเชียงใหม่) และเมืองปากห้วยหลวง (อำเภอโพนพิสัย) ซึ่งเป็นหนึ่งในอาณาจักรล้านช้าง

    การอพยพครั้งที่สำคัญ มีดังต่อไปนี้

    ในปัจจุบันกลุ่มคนที่อพยพมาอยู่ในเขตจังหวัดหนองคาย ได้มีการปรับตัวและปรับเปลี่ยนเอกลักษณ์เฉพาะตัวให้กลมกลืนกับชาวพื้นเมืองที่ตั้งถิ่นฐานอยู่เดิมจนแทบไม่เห็นความแตกต่าง ทั้งการแต่งกาย ที่อยู่อาศัย ประเพณีต่าง ๆ จะสังเกตได้เฉพาะสำเนียงของภาษาพูด ที่ยังคงเหลือเค้าให้ทราบว่า เดิมเป็นชนเผ่าไหน ซึ่งพอจำแนก ได้ดังนี้

    • กลุ่มชาวลาวเวียงจันทน์ เนื่องจากมีอาณาเขตที่ใกล้เคียงกับเวียงจันทร์ จึงน่าจะเรียกว่าชาวเวียงจันทน์ ถือว่าเป็นกลุ่มชนที่มากที่สุดในจังหวัดหนองคาย โดยเฉพาะท้องที่อำเภอ อำเภอเมืองหนองคาย,อำเภอศรีเชียงใหม่อำเภอท่าบ่อ และอำเภอโพนพิสัย
    • กลุ่มชาวไทอีสาน/ลาวอีสาน เนื่องจากเดิมเป็นอาณาจักรล้านช้างจึงนับเป็นกลุ่มลาวล้านช้างด้วยแต่ถึงอย่างไร หน้าตา ผิวพรรณ สำเนียงการพูด ก็แตกต่างจากชาวลาวเวียงจันทน์
    • กลุ่มไทพวน มีถิ่นฐานเดิมจากเมืองพวน แขวงเชียงขวาง ประเทศลาว อาศัยอยู่ที่อำเภอศรีเชียงใหม่
    • กลุ่มไทลื้อ/ไทด่าน/ไทเหนือ เป็นกลุ่มที่อพยพมาจากเมืองหลวงพระบางและอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ปัจจุบันอยู่ที่อำเภอสังคมและอำเภอโพธิ์ตาก
    • กลุ่มคนญวน อพยพมาในสมัยสงครามอินโดจีน พร้อมๆ กับเจ้าเมืองจันทบุรี มาอยู่ที่อำเภอท่าบ่อ

    ตามประวัติศาสตร์เดิม มีกลุ่มคนที่เป็นชาติพันธุ์ต่างๆ อพยพมาที่จังหวัดหนองคายมากกว่านี้ แต่ปัจจุบัน ไม่สามารถหาหลักฐาน หรือ สิ่งบอกเหตุว่าเป็นชนกลุ่มนั้นๆ หรือไม่ เนื่องจากมีการกลมกลืนกันเป็นไทอีสาน เกือบหมดแล้ว และมีบางส่วนที่เป็นกลุ่มคนที่อพยพมาจากจังหวัดอื่นๆ มาตั้งถิ่นฐานในอำเภอรัตนวาปี และอำเภอโพนพิสัย ซึ่งเรียกว่า ไทครัว เพราะในหมู่บ้านหนึ่งๆ จะมาจากหลากหลายจังหวัดและไม่สามารถสืบสานชาติพันธุ์ได้และปัจจุบันก็กลมกลืนกับชาวบ้านที่อาศัยอยู่เดิมเกือบหมดแล้ว

    การศึกษา

           จังหวัดหนองคาย มีสถาบันการศึกษาหลายแห่ง โดยแบ่งเป็นระดับประถมศึกษา ทั้งหมด 2 เขต และมัธยมศึกษาอีก 1 เขต ซึ่งครอบคลุมโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดหนองคายทั้งหมด 31 แห่ง นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคายอีก 1 แห่ง

           สถานศึกษาในระดับอาชีวศึกษาทั้งรัฐและเอกชน ปัจจุบันอยู่ในกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรรมการการอาชีวศึกษาทั้งหมด ส่วนสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาที่สำคัญ ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ศูนย์หนองคาย, สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตหนองคาย

    สาธารณสุข

เศรษฐกิจ

เกษตรกรรม

       ประชากรโดยส่วนมากจะประกอบอาชีพทางการเกษตร เช่น ทำนา ทำสวน ทำไร่ ใช้ประโยชน์ที่ดินส่วนใหญ่เพื่อการเกษตร คิดเป็นร้อยละ 57.29 ของพื้นที่จังหวัด หรือ 2,625,441 ไร่ ซึ่งพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว (นาปี) และยางพารา

       นอกจากนั้น ยังมีการเลี้ยงปศุสัตว์และการทำประมง โดยปศุสัตว์ที่มีมูลค่าผลผลิตมากที่สุด คือ ไก่ไข่ สุกร โคพื้นเมือง เป็ดไข่ ไก่เนื้อ กระบือ เป็ดเนื้อ และโคพันธุ์ ส่วนด้านการประมงนั้น มีทั้งการเลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อดิน บ่อซีเมนต์ กระชัง การจับสัตว์น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ การจับสัตว์น้ำในแม่น้ำโขง และการจับสัตว์น้ำในแหล่งน้ำอื่นๆ

อุตสาหกรรม

       ทางด้านอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมที่สำคัญของจังหวัดหนองคาย คือ โรงสีข้าว อุตสาหกรรมยางพารา และอุตสาหกรรมแปรูปไม้ นอกจากนี้ยังมีอุตสาหกรรมอื่นๆ คือ อัดเศษโลหะ อัดเศษกระดาษและบดย่อยพลาสติก ซ่อมรถยนต์ ทำน้ำแข็งก้อนเล็ก ห้องเย็นทำวงกบประตูหน้าต่าง และเครื่องเรือนเครื่องใช้จากไม้ และในอนาคต จังหวัดหนองคายยังได้ถูกให้พัฒนาเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษในระยะที่ 2 ซึ่งจะทำให้ภาคอุตสาหกรรมนั้นเจริญเติบโตมากขึ้น

การขนส่ง

การขนส่ง
รถยนต์

จากกรุงเทพมหานคร ใช้ถนนพหลโยธินจนถึงจังหวัดสระบุรี บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 107 แล้วแยกขวาเข้าถนนมิตรภาพ ผ่านจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดขอนแก่น และจังหวัดอุดรธานี จนไปถึงจังหวัดหนองคาย

รถโดยสารประจำทาง

สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดหนองคาย มีบริการรถโดยสารประจำทางทั้งรถโดยสารธรรมดาและปรับอากาศ ทั้งรถที่มาจากกรุงเทพฯ และจากหนองคายไปยังจังหวัดต่างๆ ผู้ให้บริการรถโดยสารที่สำคัญ อาทิ ชาญทัวร์, แอร์อุดร, เชิดชัยทัวร์, 407 พัฒนา, บุษราคัมทัวร์, รุ่งประเสริฐทัวร์, ชัยภูมิจงเจริญขนส่ง และนครชัยแอร์ นอกจากนี้ บริษัท ขนส่ง จำกัด ยังให้บริการรถโดยสารระหว่างประเทศอยู่สองเส้นทาง ดังนี้

ในปัจจุบัน จังหวัดหนองคายมีสถานีขนส่งผู้โดยสารทั้งหมด 2 แห่ง ได้แก่

  • สถานีขนส่งผู้โดยสารเทศบาลเมืองหนองคาย ตั้งอยู่ที่ถนนประจักษ์ศิลปาคม ตำบลในเมือง อำเภอเมืองหนองคาย
  • สถานีขนส่งผู้โดยสารเทศบาลตำบลโพนพิสัย ตั้งอยู่ที่ถนนภิรมยาราม ตำบลจุมพล อำเภอโพนพิสัย

การขนส่งในตัวจังหวัดหนองคาย ประกอบไปด้วย รถสองแถวกับรถสามล้อเครื่อง (รถเหมา) ซึ่งคิดค่าโดยสารตามระยะทาง และแท็กซี่ ซึ่งคิดค่าโดยสารตามระยะทางบนมิเตอร์

ทางราง

       การรถไฟแห่งประเทศไทยให้บริการขบวนรถไฟจากกรุงเทพฯ มายังสถานีรถไฟหนองคายทุกวัน โดยขบวนรถไฟที่มีศักย์สูงที่สุดคือรถด่วนพิเศษอีสานมรรคา ซึ่งเป็นรถไฟกลางคืนที่ให้บริการมาตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2559

ทางอากาศ

จังหวัดหนองคายไม่มีท่าอากาศยาน โดยท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานีเป็นท่าอากาศยานที่อยู่ใกล้กับตัวจังหวัดที่สุด ห่างจากตัวจังหวัดหนองคายเป็นระยะทาง 51 กิโลเมตร

วัฒนธรรม

       ประชาชนชาวจังหวัดหนองคาย ยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณีเหมือนคนไทยทั่วไปในภาคอีสาน คือ ฮีตสิบสอง คลองสิบสี่ เป็นแนวทางการดำรงชีวิตซึ่งทำให้แดนอีสานอยู่กันด้วยความผาสุก ร่มเย็นตลอดมา โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับปีฮีดสิบสอง ดังนี้ เดือนอ้ายบุญเข้ากรรม เดือนยี่บุญคูณลาน เดือนสามบุญข้าวจี่ เดือนสี่บุญพระเวส เดือนห้าบุญสรงน้ำหรือบุญตรุษสงกรานต์ เดือนหกบุญบั้งไฟ เดือนเจ็ดบุญชำฮะ เดือนแปดบุญเข้าพรรษา เดือนเก้าบุญข้าวประดับดิน เดือนสิบบุญข้าวสาก เดือนสิบเอ็ดบุญออกพรรษา และเดือนสิบสองบุญกฐิน

เทศกาลและงานประเพณีที่สำคัญ ได้แก่

This will close in 0 seconds